fbpx
วิธีการเล่นหุ้นและวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค

ทฤษฏีการสะท้อนกลับไปมาGeorge Soros : Reflexivity And Market Reversal

Google+ Pinterest LinkedIn Tumblr

ทฤษฏีการสะท้อนกลับไปมา (Reflexivity) ของพ่อมดการเงิน Gorge Soros

 

หุ้น Soros avatar ในวันหยุดสบายๆนี้ ผมขอเริ่มแปลบทความอีกชุดหนึ่งควบคู่กันไป นั่นก็คือบทความที่เกี่ยวกับทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ของพ่อมดการเงิน Gorge Soros ที่เราทุกคนรู้จักกันดีมาให้อ่านกันครับ โดยบทความชิ้นนี้เขียนโดย Frank Ramsperger แห่ง Alpha Plus Advisors,LLC ครับ

“ไม่ว่ามันจะมีความซับซ้อนแค่ไหน หลักการพื้นฐานของทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ทุกอย่างนั้น ล้วนตั้งอยู่บนแนวคิดที่ว่า ตลาดจะวิ่งไปสู่จุดสมดุลระหว่างอุปสงค์ และอุปาทาน ผลก็คือ เมื่อทุกคนที่มีส่วนร่วมอยู่ในตลาดนั้นกระทำสิ่งต่างๆด้วยเหตุและผล ระบบเศรษฐกิจและตลาดเสรีก็จะกลับสู่ความสมดุล”

แต่นี่คือสิ่งที่ George Soros ไม่เห็นด้วยครับ!

 

ทฤษฎีการสะท้อนกลับไปมา หรือ Reflexivity ของ George Soros นั้น ได้ชี้ให้เราเห็นว่า ในบางครั้งตลาดนั้นมีลักษณะที่ไม่สมดุล หรือคงที่อยู่โดยธรรมชาติของมัน เนื่องจากมีแรงบางอย่างซึ่งส่งผลให้เกิด “การสะท้อนกลับในทางลบ หรือ Negative Feedback” ซึ่งทำให้ราคานั้นวิ่งออกจากจุดสมดุลไปอย่างมาก

ทฤษฎี Reflexivity นั้นช่วยอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ และมันคือปรัชญาเบื้องหลังความคิดของเขา ในการที่จะช่วยบ่งชี้ถึงสภาพที่ไม่เสถียรของสภาวะแวดล้อมในตลาด โดยเมื่อไหร่ที่เขาเชื่อว่าราคาได้เคลื่อนที่ไปถึงจุดสุดยอด(Extreme) ของมันนั้น เขาจะเดิมพันในการวกกลับมาของราคา ซึ่งหลักฐานจากผลการลงทุนที่ผ่านมาของเขานั้น แสดงให้เห็นว่า Gorge Soros ได้ประยุกต์ใช้ทฤษฏีของเขากับการลงทุนได้เป็นอย่างดีเยี่ยมเลยทีเดียว

โดยในบทความนี้ เราจะแสดงให้เห็นถึงแนวคิดเบื้องหลังทฤษฎี Reflexivity และอธิบายถึงการเกิดปรากฏการณ์รูปแบบราคาแบบ Parabolic Price Pattern ดังนั้น ความเชื่อที่ว่าตลาดนั้นจะวิ่งไปสู่จุดสมดุล(Equilibrium)อยู่เสมอ จึงเป็นสิ่งที่ไม่สมบูรณ์เท่าไหร่นัก เพราะเมื่อไหร่ที่มีแรงกระทบจากสภาวะที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจขึ้นนั้น(Destabilizing Force) ภาคธุรกิจ, อุตสาหกรรม, หรือแม้แต่ตลาดทางการเงินต่างๆนั้น ก็จะเกิดการเคลื่อนไหวไปอย่างรุนแรงหนีไปจากจุดสมดุลของมัน ซึ่งในบางครั้งมันก่อให้เกิดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจขึ้นมา แต่ในบางครั้งมันก็กลับทำให้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง

เราจึงพอที่จะสรุปได้ว่า เมื่อไหร่ที่แรงกระทบจากสภาวะที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้เกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงนั้นได้บรรเทาลงไป เศรษฐกิจของอเมริกานั้นจะไม่ต้องตกอยู่ในสภาวะการฟื้นตัวแบบ L-Shape แต่ในทางกลับกันแล้ว จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้น ด้วยสภาวการณ์ที่คล้ายกันนี้ ตลาดหุ้นจะเกิดการฟื้นตัวแบบ V-Shape ภายในช่วงเวลายาวประมาณ 1 ปี โดยเราจะอธิบายถึงเหตุผล ว่าทำไมสภาวการณ์ต่างๆในขณะนี้นั้นจึงเอื้อที่จะทำให้เกิดการฟื้นตัวเช่นนั้นในภายหลังครับ

บทนำ

หุ้น Soros_paradigm1 หลังจากที่ George Soros ได้เกษียนตัวเองจากการเป็นผู้จัดการกองทุนอย่างเต็มเวลาในปี 2000 เขาได้ก่อตั้งกองทุน Hedge Fund กองใหม่ของเขาขึ้นมาอีกครั้งในช่วงปี 2007 โดยผลการลงทุนของเขาในขณะที่ได้บริหารการลงทุนอยู่ที่กองทุน Quantum Fund ในช่วงยุคต้นปี 70 นั้น ได้สร้างผลตอบแทนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ +40% ต่อปีเป็นเวลานับสิบปีทีเดียว ซึ่งในช่วงตลาดหมี(Bear Market)ในปี 2008 นี้ รายงานจากผลการลงทุนตอบแทนของเขานั้น ก็ยังสามารถที่จะเอาชนะตลาด และนักลงทุนหลายๆคนได้อยู่เช่นเดิม โดยเป็นผลมาจากการที่เขาสามารถสร้างผลกำไรเป็นอย่างมากในขณะที่ตลาดได้ร่วงหล่นลงมา.. แล้วเขาทำได้อย่างไรหรือ? คำตอบก็คือ.. “ทฤษฎีการสะท้อนกลับไปมา หรือ Theory of Reflexivity” ของเขานั่นเองครับ

George Soros นั้นพูดถึงทฤษฏีของเขาว่า มันคือผลงานแห่งชีวิตของเขา และเขายังได้เขียนหนังสือที่มีหัวข้อเกี่ยวกับทฤษฎีนี้อยู่หลายเล่มเช่นกัน อย่างไรตาม เขาก็ยอมรับว่าเขานั้นต้องเจอกับทั้งกระแสการวิจารณ์ในเชิงลบและคำชมเชยควบคู่กันไป จากทฤษฎีของเขาที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจและตลาดเงินของเขา โดยในการบรรยายของเขาในปี 1994 นั้น เขาได้พยายามที่จะอธิบายถึงแนวคิดเบื้อหลังทฤษฏีการสะท้อนกลับไปมา หรือ Reflexivity ไว้ดังนี้ครับ

“มันมีความสัมพันธ์แบบที่เรานั้นเป็นฝ่ายกระทำ(Active Relationship) ระหว่างความคิดและความจริงอยู่ รวมถึงความสัมพันธ์แบบที่เราถูกกระทำ(Passive Relationship)ระหว่างความคิดและความจริงอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งนี้เองทำให้เกิดความเข้าใจที่ความคลาดเคลื่อนไปจากความจริง และผมหมายถึงสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นทางเศรษฐศาสตร์ด้วยเช่นกัน”

 

 

“ผมเรียกความสัมพันธ์แบบถูกกระทำ(Passive Relationship)นี้ว่า “กลไกความสัมพันธ์ที่เกิดจากกระบวนการรับรู้”(Cognitive Function) และผมเรียกความสำพันธ์แบบการเป็นฝ่ายกระทำ(Active Relationship)นี้ว่า “กลไกความสำพันธ์ที่เกิดจากการเข้าไปมีส่วนร่วม”(Participating Function) โดยผมเรียกความสัมพันธ์ ของกลไก(Function)ทั้งสองอย่างนี้ว่า “การสะท้อนกลับไปมา หรือ Reflexivity” นั่นเอง”

อืมม…. ในตอนนี้เราคงเห็นได้ว่าทักษะทางด้านการปฏิบัติของเขานั้น ดูเหมือนว่าจะแซงหน้าทักษะในการอธิบายความคิดของเขาเอง และทำให้ผู้อื่นเข้าใจไปไกลหลายขุมเลยทีเดียวนะครับ ดังนั้น จุดมุ่งหมายของเราในบทความชุดนี้ก็คือ การทำให้มันง่ายขึ้นและชัดเจนขึ้นมานั่นเองครับ

วันนี้ขอเกริ่นแต่เพียงเท่านี้ก่อน เชื่อว่าหลายคนน่าจะอยากอ่านต่อ เพราะเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฏีการสะท้อนกลับไปมา(Reflexivity) ของเขานั้น ดูจะหาอ่านเป็นภาษาไทยยากเหลือเกิน ผมลองค้นๆดูแล้ว เหมือนจะมีอยู่ไม่เยอะเท่าไหร่ ยังไงก็ขอเป็นส่วนเพิ่มเติมให้กับใครที่ยังอยากศึกษาเกี่ยวกับแนวความคิดของพ่อมดการเงิน Gorge Soros คนนี้ครับ แล้วพรุ่งนี้เจอกันอีกทีที่ แมงเม่าคลับ.คอม นะครับ

ถ้าเห็นว่าบทความไหนมีประโยชน์ เพื่อนๆสามารถที่จะนำบทความไปแปะเพื่อแบ่งปันได้โดยไม่มีปัญหา แต่ยังไงขอแรงช่วยลิงค์อ้างอิงกลับมาที่แมงเม่าคลับกันหน่อยนะครับ :D หมายเหตุ : สำหรับการแปะลิงค์ใน Pantip.com ช่วยใส่ Link ให้เป็น http://www.mangmaoclub.com เพื่อให้แปะลงไปได้โดยไม่ Error ขอบคุณครับ :)